โครงการ: สร้างเสริมสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเบาหวานและกลุ่มเสี่ยง -----------------------------------

ชื่อโครงการ   สร้างเสริมสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเบาหวานและกลุ่มเสี่ยง

ผู้รับผิดชอบ   ชมรมพยาบาลเบาหวานแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ศูนย์เบาหวานศิริราช

ความสำคัญของปัญหา

เบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เบาหวานเกิดจากปัจจัยหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้คือปัจจัยภายนอก ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง การออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินพอ ที่สำคัญ เบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ซึ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิต เป็นต้นเหตุของการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ นำมาซึ่งความทุพลภาพ หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายปี พ.ศ. 2546-2547 พบว่าในประชากรไทยที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป พบเป็นเบาหวานร้อยละ 6.9 โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย คือร้อยละ 7.3 ในผู้หญิงและร้อยละ 6.4 ในผู้ชาย อายุที่มากขึ้นจะพบเบาหวานได้บ่อยขึ้น1 ประชากรในเขตเมืองเป็นเบาหวานมากกว่านอกเขตเมือง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงพบเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีความดันโลหิตสูง และที่น่าวิตกคือ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตรวจพบเบาหวานไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน อาจเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก จึงไม่มีอาการ หรือบุคคลนั้นไม่สามารถสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เมื่อไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา ทำให้บุคคลกลุ่มนี้มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

รอบปีที่ผ่านมาเป็นปีมหามงคลที่ปวงชนชาวไทย หน่วยงานและทุกองค์กรต่างๆร่วมฉลองครบรอบ80พรรษา แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ชึ่งพนักงานการบินไทย ต่างพร้อมใจบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุสงฆ์จำนวน 99 รูป เพื่อปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสมหามงคลครบรอบ 80 พรรษา 5 ธันวามหาราช โดยกำหนดบรรพชาอุปสมบท ณ วัดทุ่งลาดหญ้า ตั้งอยู่ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่าง วันที่ 1-17 ธันวาคม 2550

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวท่านพระครูสิทธิกิจจานุวัตร เจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า เป็นผู้ป่วยเบาหวานในความดูแล ตระหนักและรับรู้ถึงความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานเปรียบเสมือนภัยเงียบ ที่ผู้เป็นเบาหวานมีโอกาสเผชิญได้ตลอดเวลา มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้รูปแบบการดำเนินชีวิตต้องเปลี่ยนไป ผู้เป็นเบาหวานต้องมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีทักษะในการบริหารจัดการแก้ไขและควบคุมโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิผล รับรู้เข้าใจ เรื่องอาหารสุขภาพ สามารถคำนวณพลังงานที่ควรได้รับจากอาหาร รู้วิธีการแลกเปลี่ยนหมวดหมู่อาหารที่รับประทานในรอบวัน มีความรู้ว่าการออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาล ฯลฯ

เนื่องจากภิกษุสงฆ์เป็บกลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากฆราวาส ด้านพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกาย  กล่าวคือ รูปแบบการฉันท์อาหารแต่ละวัน ไม่สามารถกำหนดประเภท/รายการอาหารด้วยตนเอง ฉันท์อาหาร 2 มื้อ/วัน สถานภาพของพระภิกษุสงฆ์ต้องสำรวมดังนั้นการออกกำลังกายพึงปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ ชมรมพยาบาลเบาหวาน และ ศูนย์เบาหวานศิริราช ตระหนักว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความ “พิเศษ” ประกอบกับท่านพระครูสิทธิกิจจานุวัตร เจ้าอาวาสวัดทุ่งลาดหญ้า ได้แจ้งความประสงค์ให้วัดทุ่งลาดหญ้า เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้แก่ภิกษุที่เป็นเบาหวานหรือภิกษุกลุ่มเสี่ยง และประชาชนที่อาศัยในเขตตำบลลาดหญ้า จึงได้มีหนังสือเชิญมาถึง ชมรมพยาบาลเบาหวาน ให้จัดวิทยากรถวายความรู้ และเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของโครงการสร้างเสริมสุขภาพแก่ภิกษุที่เป็นเบาหวานหรือภิกษุกลุ่มเสี่ยง ชมรมพยาบาลเบาหวาน ได้ประสานงานและจัดกิจกรรมร่วมกับ ศูนย์เบาหวานศิริราช พร้อมทั้งขอความอนุเคราะห์บุคลากรซึ่งเป็น นักโภชนาการ 2 คนและ นักสุขศึกษา 1 คนมาร่วมกิจกรรมในโครงการฯ ครั้งนี้

วัตถุประสงค์

  1. เพิ่มพูนความรู้แก่ภิกษุสงฆ์ที่บรรพชาอุปสมบท
  2. ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเองระหว่างภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเบาหวานและภิกษุสงฆ์กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

วิธีดำเนินการ

  1. จัดประชุมเพื่อให้ความรู้ โดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคเบาหวาน (แพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ)
  2. ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น ( ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดเส้นรอบเอว)
  3. ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวาน
  4. จัดแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 4 กลุ่ม คือ
    • กลุ่มเรียนรู้แลกเปลี่ยนการดูแลสุขภาพเท้า สำหรับ ภิกษุสงฆ์ที่เป็นเบาหวาน
    • กลุ่มเรียนรู้อาหารแลกเปลี่ยน สำหรับ ภิกษุสงฆ์ที่มีความเสี่ยงมากต่อการเป็นเบาหวาน
    • กลุ่มเรียนรู้ไขข้อข้องใจสร้างเสริมสุขภาพ 1 สำหรับ ภิกษุสงฆ์ที่มีความเสี่ยงปานกลางและน้อยต่อการเป็นเบาหวาน
    • กลุ่มเรียนรู้ไขข้อข้องใจสร้างเสริมสุขภาพ 2 สำหรับ ภิกษุสงฆ์ที่มีความเสี่ยงปานกลางและน้อยต่อการเป็นเบาหวาน

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  2. ภิกษุสงฆ์ที่เข้าร่วมโครงการฯมีความสามารถดูแลตนเองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานด้วยตนเอง

ผลลัพธ์

  1. เมื่อสิ้นสุดการอบรมภิกษุสงฆ์มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 90
  2. แสดงผลข้อมูลภาวะสุขภาพและการประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน

รายการประเมิน

ค่าเฉลี่ย

จำนวน103รูป

ร้อยละ

อายุ

42.54

  

1.  น้ำหนัก

72.62

  

2.  ดัชนีมวลกาย                            (BMI ≥25 )

24.87

39

38.23

3.  รอบเอว                                    ( ชาย≥ 90cm)

92.5

28

27.45

4.  ความดันโลหิตสูง                      (dys≥93mmHg)

77.02

8

7.8

5.  มีบิดา มารดาหรือญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน

 

37

36.3

6.  รอบปีที่ผ่านมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 2 กิโลกรัม

 

37

36.3

7.  มีพฤติกรรมไม่ออกกำลังกาย

 

46

45.1

8.  มีเรื่อง/ปัญหาทำให้เครียดอยู่เสมอ

 

30

29.41

9.  มีพฤติกรรม ดื่มสุรามากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์

 

18

17.65

จากตาราง จำนวนภิกษุที่มาร่วมประเมิน 103 รูป มีน้ำหนักเฉลี่ย 72.62 กิโลกรัม

               น้ำหนักมวลกายเฉลี่ย 24.87 และภิกษุที่มีน้ำหนักมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 25 จำนวน 39 รูป

รอบเอวเฉลี่ย 92.5เซนติเมตร ภิกษุที่มีรอบเอวเท่ากับหรือมากกว่า 90 เซนติเมตร จำนวน 28 รูป                   ความดันโลหิต (systolic) เฉลี่ย 77.02 มม.ปรอท    ภิกษุที่มีความดันโลหิต (systolic) เท่ากับหรือมากกว่า 93 มม.ปรอท   จำนวน 8 รูป

            มีบิดา มารดาหรือญาติพี่น้องเป็นเบาหวาน จำนวน 37 รูป (36.3%)

            ในรอบปีที่ผ่านมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 2 กิโลกรัม จำนวน 37 รูป (36.3%)

            มีพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จำนวน 46 รูป (45.1%)

            มีเรื่องที่ทำให้เครียดเสมอ จำนวน 30 รูป (29.41%)

            มีพฤติกรรมการดื่มสุรามากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ จำนวน 18รูป (17.65%)

  1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้จากกลุ่ม พบว่า ภิกษุสงฆ์ที่เป็นเบาหวานบอกว่า เป็นเบาหวานมานานกว่า 5 ปี ไม่เคยทราบเลยว่าการล้างเท้าถูกวิธีปฏิบัติอย่างไร และภิกษุสงฆ์กลุ่มเสี่ยง(ซึ่งพบมากถึงร้อยละ35) ตื่นตัวและสอบถามเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย “…ถ้าไม่มีเวลาจะทำอย่างไร”“ขณะนี้ก็ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่น้ำหนักไม่ลง” ฯลฯ เวลาที่กำหนดไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ ไม่พอเพราะภิกษุสงฆ์หลายรูปที่สอบถาม

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top